โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง การอ่านคอร์ดกีต้าร์เบื้องต้น (guitar)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์
จัดทำโดย
นาย
กีรพง หมดสตูล
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2
รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีการศึกษา2560
โรงเรียนทุ่งมะพร้าววิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่14
เกี่ยวกับโครงงาน
โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง
การเล่นกีต้าร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์
ผู้จัดทำ นาย
กีรพง หมาดสตูล
ครูที่ปรึกษาวิชิต ชวนอยู่
ตำแหน่ง ครู อันดับ1
สถานศึกษา โรงเรียนทุ่งมะพร้าววิทยา อำเภอท้ายเหมือง
สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขตที่14
ปีการศึกษา 2560
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จขึ้นได้ด้วย
ความกรุณาของคณะผู้บริหารและคณะอาจารย์หมวดคอมพิวเตอร์ โรงเรียนทุ่งมะพร้าววิทยา
ซึ่งได้ให้คำปรึกษา ข้อชี้แนะ
และความช่วยเหลือจนกระทั่งโครงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
ท้ายสุดนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและเป็นที่น่าสนใจสาหรับผู้ที่สนใจต่อๆไป
กีรพง หมาดสตูล
คณะผู้ที่จัดทำ
บทคัดย่อ
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) สร้างเพื่อให้คนที่สนใจมาใช้ประโยชน์ในการเล่น(2)ศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้าง Microsoft Word
(3) ศึกษาการจัดทำโครงงานการสอนอ่านคอร์ดกีต้าร์
ผลการศึกษาและจัดทำโครงงานพบว่า การพัฒนาเพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ได้รับความสนใจที่มีประโยชน์
สารบัญ
เรื่อง หน้า
เกี่ยวกับโครงงาน
1
กิตติกรรมประกาศ
2
บทคัดย่อ 3
บทที่1 บทนำ 4
-ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
6
-วัตถุประสงค์
6
-ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า 6
บทที่2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง 7-10
บทที่3 วิธีการจัดทำโครงงาน 11
-วัสดุและอุปกรณ์
12
-วิธีการจัดทำโครงงาน
12
บทที4 ผลการศึกษา
12
บทที่5
สรุปและข้อเสนอแนะ
13
-สรุปผลการศึกษา
13
-ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
13
-ข้อเสนอแนะ 13
บรรณานุกรม 14
ภาคผนวก 15-31
ข้อมูลผู้จัดทำ
32
บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโรงงานในยุคโลกาภิวัตน์มนุษย์มีความต้องการสิ่งต่างๆมากขึ้นทุกวันไม่มีที่สิ้นสุด
มนุษย์มีการพัฒนาสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวไปด้วยควบคู่กันไป
ในการพัฒนาของมนุษย์มีหลายด้านเพื่อที่จะต้องการให้ประเทศของตนเองพัฒนาไปได้มากกว่าประเทศอื่นๆ
แต่การพัฒนาของมนุษย์ยังมีการพัฒนาบางสิ่งที่จะทำให้ประเทศมีการพัฒนาได้ไม่น้อยเช่นกัน
เช่น ด้านวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นแต่ละชาติซึ่งจะนำพาเพื่อการเผยแพร่
ด้านดนตรี เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทต่อมนุษย์ในสังคมเป็นอย่างมาก
เกี่ยวกับทางด้านจิตใจ อารมณ์ ที่จะทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกต่างๆ เช่น ความดีใจ
ความเสียใจ ความเศร้า ความรัก เป็นต้น ดนตรีสามารถทำให้มนุษย์สามารถมีกำลังใจ
ที่จะสู้ต่อกับในโลกแห่งความจริง
แต่ในขณะเดียวกันดนตรีก็สามารถนำพาทุกสิ่งทุกอย่างให้จบลงได้
ดังนั้นดนตรีเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีเกิดความรู้สึกต่างๆ
ที่มีผลอย่างยิ่งต่อตัวมนุษย์
ในชีวิตประจำวันของทุกคนล้วนแต่เคยฟังดนตรี
และบางคนนั้นก็รู้จักถึงเสียงของเครื่องดนตรีที่บรรเลงออกมา
ดนตรีที่บรรเลงออกมาได้ไพเราะเกิดจากการฝึกฝนที่มีทักษะการฝึกฝนมาอย่างดี
หรืออาจเกิดจากพรสวรรค์ที่เพียงเล่นได้ไม่นาน ก็สามารถเข้าใจถึงแก่ของดนตรีได้
เครื่องดนตรีที่เห็นในชีวิตประจำวัน เช่น กีต้าร์ กลองชุด เบส และอื่นๆอีกมากมาย
ในการที่จะบรรเลงนั้นต้องเกิดจากการฝึกซ้อมที่ดี
จึงเป็นผลอย่างมากในการที่จะแสดงออกมา ผู้เล่นจึงต้องมาสติและมีสมาธิเป็นอย่างมาก
เครื่องดนตรีจึงสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องในการช่วยฝึกสมาธิ
และเป็นกิจกรรมยามว่างได้ดีอีกเช่นกัน
ดังนั้นเครื่องดนตรีที่บรรเลงออกมาเป็นเสียงเพลง
เกิดจากผู้ที่มีความสามารถทางด้านดนตรีมีความรู้สึกนึกคิดที่จะถ่ายทอดความรู้สึกของตนไปสู่ผู้ฟัง
โดยไม่ได้ใช้จากการพูด มอง หรือการสื่อสารอะไรต่างๆ แต่ใช้เครื่องดนตรี
เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายไปยังผู้ฟัง
วัตถุประสงค์
ต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
สร้างสื่อวีดีทัศน์
เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสอนอ่านคอร์ดกีต้าร์
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
บทที่2
เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานการสอนเล่นกีต้าร์
กลุ่มของข้าพเจ้าได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
การเล่นกีตาร์เบื้องต้น
การใช้งานมือซ้าย
ในที่นี้จะหมายถึงผู้ที่ถนัดขวานะถ้าถนัดซ้ายก็จะตรงกันข้าม สำหรับหน้าที่หลักของมือซ้ายก็คือการจับคอร์ด การให้ระดับเสียงของโน้ตดนตรี(ด้วยการกดนิ้วไปแต่ละ เฟร็ต)
ซึ่งเราจะใช้นิ้วทั้ง 5 เพื่อช่วยในการเล่นกีตาร์
เช่นการจับคอร์ด ลี๊ดเป็นต้น ...ถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่า
เอ...ใช้นิ้วโป้งด้วยหรือ ใช้ยังไงล่ะ ...ก็ขอตอบว่าใช้ในบางกรณี
โดยเฉพาะเพลงในแบบ ฟิงเกอร์ สไตล์
(สไตล์นิ้วหรือเกานั่นแหล่ะครับ) หรือการจับคอร์ดบาร์ (bar
chord) หรือคอร์ดทาบ นิ้วโป้งมีประโยชน์มาก
ซึ่งผมจะกล่าวรายละเอียดในขั้นต่อไป นอกจากใช้จับคอร์ด ใช้ลี๊ดแล้ว
ยังรวมถึงการเล่นเทคนิคต่าง ๆ เช่นการดันสาย สไลด์ hammer on pull
off หรือทำเสียงบอด(mute) เป็นต้น
การดูแลรักษามือซ้ายนั้นไม่ควรจะไว้เล็บให้ยาวเกินนิ้วออกมาเพราะจะเป็นอุปสรรคกับการกดนิ้วบนคอกีตาร์แน่นอน และยังจะทำให้เจ็บนิ้วอีกด้วย และพยายามอย่าไปกังวลกับหนังที่ปลายนิ้วที่มันจะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อคุณเล่นกีตาร์บ่อย ๆ เดี่ยวมันก็ลอกไปเอง
การใช้งานมือขวา
สำหรับมือขวาในการเล่นกีตาร์จะมีหน้าที่ทำให้เกิดเสียงไม่ว่าด้วยการดีดด้วยนิ้วหรือการเกา การดีดด้วยปิคล้วนแต่ควบคุมด้วยมือขวาทั้งนั้น
โดยหน้าที่ของแต่ละนิ้วนั้นสรุปคร่าว ๆ ได้แก่
ถ้าจับปิคดีดจะจับด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง แต่ถ้าคุณเล่นเกาแล้ว นิ้วโป้งจะมีหน้าที่ควบคุมเสียงเบส (หมายถึง 3 เส้นบน) เป็นส่วนมาก และนิ้วชี้ กลาง และนิ้วนาง
จะควบคุม 3 สาย ล่างเป็นหลัก
ส่วนนิ้วก้อยนั้นถึงแม้ไม่มีส่วนในการดีด แต่บางคนก็มักใช้นิ้วก้อยยันกับตัวกีตาร์เวลาเกานอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการเล่นกีตาร์ลี๊ดเช่นการใช้บังคับคันโยก
การปรับปุ่ม tone หรือ volumeเวลาลี๊ดกีตาร์ไฟฟ้า (เทคนิคดังกล่าวจะพูดในภายหลังนะครับ) นอกจากส่วนของนิ้วมือแล้ว สันมือก็ใช้ในการทำเสียงบอด (mute) ได้เช่นกันซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องของการใช้เทคนิคมือขวาต่อไป
การดูแลโดยทั่วไปสำหรับมือขวานะคือไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไปโดยเฉพาะ
นิ้วชี้ , กลาง
และนิ้วนางเพราะจะทำให้ดีดสายกีตาร์หรือแม้แต่จับปิคได้ไม่สะดวก แต่อาจไว้เล็บพอประมาณเพื่อใช้เกากีตาร์
สำหรับผู้ที่ถนัดซ้ายนั้นการเล่นก็จะกลับกับคนถนัดขวาคือ
มือซ้ายจะใช้ดีด แต่มือขวาจะมาจับคอร์ดแทน ซึ่งกีตาร์สำหรับคนถนัดซ้ายนั้นก็มีขายนะ แต่ถ้ามันหายากนักผมว่าก็ใช้กีตาร์ของแบบถนัดขวา(แต่พยายามอย่าเลือกแบบคอเว้า หรือมีปิคการ์ดด้านล่างนะครับ) แล้วก็ใส่สายใหม่โดยกลับสายจากสายบนสุด ไปใส่ล่างสุดแทนก็ได้ แต่ก็มีนะครับนักกีตาร์มีซ้ายที่ใช้กีตาร์แบบเล่นมือขวามากลับพลิกแล้วเล่นเลยไม่ต้องเปลี่ยนสงเปลี่ยนสายให้เสียเวลา ดังนั้นสาย 1 จะมาอยู่บน สาย 6 จะไปอยู่ล่าง เช่น นักกีตาร์โฟล์คหญิงที่ชื่อ Elizabeth
Cotten แต่ผมก็ไม่รู้นะครับว่าเค้าเล่นยังไงเคยฟังแต่เพลงเค้าเก่งจริง
ๆ ครับและก็ยังมีอีกเป็นนักกีตาร์บลูส์แต่ผมลืมชื่อไปแล้ว ดังนั้นคนที่ถนัดซ้ายไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรผมว่าเท่ซะอีก และนักกีตาร์มือซ้ายที่โด่งดังเช่น Jimi Hendrix สุดยอดคนหนึ่งของวงการกีตาร์และ Kurt Cobain แห่ง nirvana ผู้ล่วงลับ เป็นต้น
2.2
รู้จักคอร์ดเบื้องต้น
คอร์ด คำนี้ทุกคนรู้จักดีอยู่แล้วแต่คุณเข้าใจมันมากแค่ไหน คอร์ดคืออะไร หมายถึงอะไรเป็นต้น
บางคนรู้จักเพียงแค่คอร์ดก็คือกดสายกีตาร์เส้นต่าง ๆ
ที่ช่องต่าง ๆ ตามรูปบอกแค่นั้น เอาล่ะเราจะมารู้จักคำว่า "คอร์ด" กันมากขึ้น
คอร์ด คือกลุ่มของตัวโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ซึ่งถ้าเราจะถามว่ามีคอร์ดกีตาร์ทั้งหมดกี่คอร์ดในโลกนี้ คงจะไม่มีใครตอบได้เนื่องจากเราสามารถสร้างคอร์ดได้มากมายเหลือเกินแล้วแต่ผู้ประพันธ์แต่ละคน แต่เราก็สามารถจำแนกคอร์ดให้เป็นประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญและพบบ่อย ๆ ได้
เช่น คอร์ดเมเจอร์(major), คอร์ดไมเนอร์(minor) และคอร์ดเซเว่น(7) เป็นต้น เครื่องหมาย % หมายถึงสัญลักษณ์ต่าง คือ C, D, E, F, G, A และ B ซึ่งก็คือชื่อของโน้ตต่าง ๆ นั่นเอง เวลาเรียกก็เรียกชื่อโน้ตตามด้วยชื่อคอร์ด เช่น %m7 แทนด้วย Am7 อ่านว่า เอ ไมเนอร์เซเว่น หรือ เอ ไมเนอร์ เจ็ด
ซึ่งตัวเลขนี้บางทีจะอ่านเป็นภาษาไทยก็ได้ แต่แนะนำว่าควรอ่านให้เป็นสากลจะดีกว่า จะได้คุ้นเคย
สำหรับตอนนี้เรารู้จักคอร์ดแค่นี้ก่อน ซึ่งโครงสร้างและรายละเอียดของคอร์ดจะกล่าวในส่วนต่อไป ตอนนี้เรามาดูในเรื่องของการจับคอร์ดและการวางนิ้วกันมั่ง ไม่มีกฎตายตัวที่บอกว่าต้องวางนิ้วแบบนั้นแบบนี้ สิ่งที่สำคัญก็คือการวางนิ้วให้ตรงตำแหน่งของโน้ต
และไม่ทำให้เกิดเสียงบอดสิ่งที่อยากแนะนำสำหรับการฝึกจับคอร์ดก็คือ การจับคอร์ดกีตาร์
2.3
การจับคอร์ดกีตาร์
ใช้มือที่จะจับคอร์ด กำหลวม
ๆ ที่คอกีตาร์ในท่าที่ถนัด ใช้นิ้วโป้งเป็นนิ้วประคอง สำหรับบางคนอาจจะจับคอกีตาร์โดยใช้นิ้วโป้งยันกับคอกีตาร์(เช่นในรูป)แทนที่จะกำรอบคอ ให้นิ้วทั้งสี่โก่งและตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ดมากที่สุด
เพื่อไม่ให้นิ้วไปโดนสายอื่นทำให้เสียงบอด
ส่วนที่กดสายกีตาร์คือส่วนปลายนิ้วทั้งสี่ และกดลงบนสายที่ระหว่างเฟร็ตหรือกลางช่อง
หรือค่อนไปทางเฟร็ตตัวล่าง โดยที่นิ้วโป้งจะช่วยประคอง
และช่วยเพิ่มแรงกดเวลาจับคอร์ดทาบ
การทาบ (Bar) ก็คือการใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง (ส่วนมากจะเป็นนิ้วชี้) ทาบสายกีตาร์ตั้งแต่สองสายขึ้นไป
เราจะคุ้นเคยกับคำว่าคอร์ดทาบ (bar chord) เช่นคอร์ด F Bb เป็นต้น ซึ่งคอร์ดทาบนี้ค่อนข้างเป็นสิ่งน่ากลัวในความคิดของมือใหม่
เนื่องจากมักจะบอด จับยาก เมื่อยและเจ็บนิ้วด้วย แต่ไม่ต้องกลัวครับลองใช้นิ้วโป้งของคุณช่วยกดที่หลังคอกีตาร์ตรงกลางคอจะทำให้คุณมีแรงกดมากขึ้น หรืออีกวิธีคือการใช้นิ้วอื่น (ที่ว่าง ไม่ได้กดเส้นใด ๆ) มาช่วยกดทับอีกชั้นหนึ่งก็ช่วยได้มาก
การดีดกีตาร์หรือตีคอร์ดเบื้องต้น ตรงนี้มีความสำคัญมากสำหรับมือใหม่ เพื่อเป็นการฝึกให้คุ้นเคยกับจังหวะดนตรี การเปลี่ยนคอร์ดที่สัมพันธ์กับจังหวะดนตรีและการตีคอร์ด ลักษณะของการตีคอร์ดนั้นเราอาจจะเข้าใจว่าคือการใช้ปิคดีดสายกีตาร์
ขึ้น ๆ ลง ๆเท่านั้น แต่จริง ๆ มันมีความหมายมากกว่านั้น เช่นการดีดต้องดีดสายไหนบ้าง ดีดขึ้นกี่ทีลงกี่ที
และเมื่อไรจะเปลี่ยนคอร์ด ดีดแบบเสียงบอดทำยังไงใช้เมื่อไร และปัญหาที่ทุกคนมักจะคิดถึงคือดีดยังไงถึงจะเพราะ ก่อนอื่นเราไปรู้จักอุปกรณ์สำคัญในการตีคอร์ด
นั่นคือปิคกีตาร์
ตอนนี้เรามารู้จักการจับปิคกันก่อน ซึ่งก็ไม่ได้มีกำหนดกฎเกณฑ์ว่าจับอย่างไรแต่ท่าที่สำคัญคือ
ต้องจับให้มั่นคง และสะดวกในการดีด
และถนัดกับตัวคนเล่นเอง แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นแบบที่นิยมกันก็คือการวางปิคลงบนด้านข้างปลายนิ้วชี้ แล้วใช้นิ้วโป้งกดทับ โดยทำมือที่จะจับปิคดังรูปที่ 1 และ2 ส่วนรูปที่ 3 คือรูปที่จับปิคแล้ว ลองปรับท่าจับให้มั่นคงแข็งแรงและถนัดที่สุดเพื่อเวลาดีดปิคจะได้ไม่หลุดจากมือ
คราวนี้ลองทดสอบ
ลองจับปิคให้มั่นคง ลองดีดกีตาร์จากสาย 6 ไปหาสาย 1
(สายใหญ่->เล็ก) จากนั้นดีดย้อนขึ้นจากสาย 1 ไปสาย 6 สังเกตการดีดให้จังหวะการดีดแต่ละเส้นนั้นให้เท่ากัน
ตอนนี้ถือว่าเพื่อน
ๆ คุ้นเคยกับการจับปิคดีดสายกีตาร์แล้ว ซึ่งหมายถึงคุณสามารถดีดได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จังหวะสม่ำเสมอ คราวนี้เราจะมาลองดีดกับคอร์ดกีตาร์จริง
ๆ ดีกว่า ในขั้นนี้ขอแนะนำคอร์ดง่าย ๆ และใช้กันมากเพื่อให้คุณฝึกหัดกันก่อนได้แก่
คอร์ด C, Am, Dm, G7 หรือ คอร์ดซี, เอ-ไมเนอร์, ดี-ไมเนอร์ และ จี-เซเว่น
เรามาดูโครงสร้างการจับแต่ละคอร์ดกัน
อธิบายนิดนึงนะสำหรับการอ่านไดอะแกรมคอร์ด
เส้นในแนวตั้ง6 เส้นหมายถึง สายกีตาร์ 6 สายนั่นเองโดยสาย 6 จะอยู่ทางซ้ายมือสุด
และสาย 1 อยู่ทางขวามือสุด ส่วนเส้นแนวนอน หมายถึงเฟร็ตต่าง ๆ
ถ้าไม่มีตัวเลขกำหนดจะหมายถึงเริ่มจากเฟร็ตที่ 1 เสมอ จุดดำนั้นคือจุดที่ต้องกดสายและตัวเลขที่อยู่ในจุดดำหมายถึงนิ้วเช่น 1= นิ้วชี้ (ดูสัญลักษณ์มือซ้ายด้านบน) ก็คือใช้นิ้วชี้กด ส่วนเครื่องหมาย Xหมายถึงไม่ต้องเล่นสายนั้นเวลาดีด (แล้วจะรู้ว่าทำไมถึงไม่เล่นสายดังกล่าวในภายหลัง)
และ O คือ สายเปิดสามารถเล่นได้เวลาดีด
คราวนี้เพื่อน
ๆ ลองจับคอร์ดต่าง ๆ ดู ลองฝึกการวางนิ้วแบบที่ได้บอกไปแล้วนะลองเปลี่ยนคอร์ดดูคร่าว
ๆ เมื่อคุณคุ้นเคยกับการจับคอร์ดพอสมควรแล้ว
เราลองมาใช้ปิคดีดดูทีละสาย เพื่อเช็คว่ามีสายไหนบอดบ้าง
โดยใช้ปิคดีดลงทีละสายเช่น คอร์ด C ลองดีดจากสาย5
-> 4 -> 3 -> 2 -> 1 แล้วสังเกตฟังดูว่าสายใดบอดบ้าง เสียงบอกคือเสียงที่เวลาดีดแล้วไม่ใส ดังแป๊ก ๆ
เนื่องจากมีนิ้วใดนิ้วหนึ่งไปโดนคุณลองดูว่ามีส่วนใดของนิ้วอื่นที่ไม่ได้กดเส้นดังกล่าวไปแตะโดนหรือไม่ แล้วพยายามจัดรูปนิ้วใหม่ ไม่ให้ไปโดนสายดังกล่าว
ต่อไปลองดีดเป็นจังหวะ
ๆ แล้วเปลี่ยนคอร์ดนะโดยการดีดลง 1 ทีนับ 1 เราฝึกโดยดีดลง 4 ครั้งแล้วเปลี่ยนคอร์ดนะเริ่มกันเลย
นับจังหวะการดีดดังนี้ (ดูจากรูปลูกศรลงคือการดีดลง 1 ครั้ง) จับคอร์ด C ดีดลงนับ 1ดีดลงนับ 2 ดีดลงนับ 3 ดีดลงนับ 4 เปลี่ยนคอร์ดเป็น Am แล้วดีดเช่นเดิมอีก 4 จังหวะ
จึงเปลี่ยนเป็นคอร์ด Dm ดีดอีกสี่จังหวะ
เปลี่ยนเป็นคอร์ด G7 ดีดอีก 4 จังหวะแล้วเปลี่ยนกับไปเป็นคอร์ดC.....ทำเช่นนี้ต่อไป
ช่วงแรกขอให้เพื่อน ๆ ฝึกเท่านี้ก่อนที่จะไปฝึกอย่างอื่น อย่าลืมนะสำคัญมากคุณควรจะฝึกการดีดให้เป็นจังหวะจะโคน เปลี่ยนคอร์ดให้สัมพันธ์กับจังหวะและการดีดกีตาร์
โดยคุณอาจจะลองเปลี่ยนจากการดีด 4 จังหวะมาเป็น 3 จังหวะแล้วเปลี่ยนคอร์ด 2 จังหวะแล้วเปลี่ยนคอร์ด
หรือ 1จังหวะแล้วเปลี่ยนคอร์ด
และเพิ่มความเร็วในการดีดให้เร็วมากขึ้น จนคุณรู้สึกว่าคุ้นเคยกับการดีดและการเปลี่ยนคอร์ด
อย่าใจร้อน
บทที่3
วิธีการจัดทำโครงงาน
วัตถุประสงค์
วัตถุอุปการณ์ที่ใช้ในการจัดทำโครงงาน
ได้แก่
1.
เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.
ซอฟต์แวร์
- โปรแกรม Sony Vegas
3.
กีต้าร์ พร้อมอุปกรณ์เสริม
4.
ไมโครโฟนจากโทรศัพท์มือถือ
ขั้นตอนการดำเนินการ
1
คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2
ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานนี้
3 จัดทำโครงร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4จัดทำโครงงานสร้าง เรื่อง
สื่อการเรียนการสอนคอร์ด เรื่องกีต้าร์
5ทำเอกสารสรุปรายงานโครงงาน
บทที่4
ผลการศึกษา
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
เรื่อง สื่อการเรียนการสอน เรื่องกีต้าร์เนื้อหาเกี่ยวกับการเล่นกีต้าร์
มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจ มีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาโครงงาน
การพัฒนาโครงงาน สื่อการเรียนการสอน
เรื่องกีต้าร์ เพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้วางแผนไว้
และได้นาเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ต www.blogger.comที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์และรวดเร็วในการรับข้อมูล
บทที่5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอน
เรื่องกีต้าร์ สามารถสรุปผลการดำเนินงานโครงงานและข้อเสนอแนะ
ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.
ต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจ
5.1.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
1.
เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.
. กีต้าร์
3.
. โทรศัพท์มือถือในการถ่ายรูป
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
การดำเนินงานโครงงานนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
คือ เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการเล่นกีต้าร์ สื่อการเรียนการสอน
เรื่องกีต้าร์ www.blogger.com ที่มีทั้งภาพและความสนใจช่วยพัฒนาให้ความรู้ของผู้ชม
มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของการเล่นดนตรี เผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีให้แก่ผู้สนใจ จึงเป็นสื่อที่มีประโยชน์ เป็นการพัฒนาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์
ข้อเสนอแนะ
1.
เนื่องจากบุคคลในกลุ่มมีความไม่พร้อมในการทำงานจึงทำให้งานดำเนินไปโดยไม่สะดวก
บรรณานุกรม
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-2/no19-23/index.html
http://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html
https://sites.google.com/site/instrumentsguitar/15/17
ภาคผนวก
การจับคอร์ดA
การจับคอร์ด
Am
ข้อมูลผู้จัดทำ
ชื่อ:นายกีรพง หมาดสตูล อายุ
18ปี
ที่อยู่
4/10 บ้านฝ่ายท่า ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง
จ.พังงา
เบอร์โทรศัพท์ : 0936485882